ต้องยอมรับนะคะว่าทุกวันนี้เราแทบจะต้องเจอกับสารเคมี มลพิษเป็นประจำ แทบจะเลี่ยงไม่ได้ แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถลดสารพิษ หรือสารเคมีรอบๆ ตัวเราลงได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างที่เรานั่งทำงาน หรือนั่งเล่นอยู่ในบ้านไปด้วยได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราสบายตา แก้เครียดระหว่างทำงานได้  โดย ดร.บี ซี วูฟเวอร์ตัน นักวิทยาศาสตร์ ที่ทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยอวกาศนาซ่า  สหรัฐอเมริกา  ที่ทำงานวิจัยมากกว่า 25 ปี เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพืชที่สามารถลดมลภาวะลงได้  ซึ่ง ผศ.ดร.พัชรียา บุญกอแก้ว อาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การนำต้นไม้มาปลูกในอาคาร หรือการประดับในห้องทำงาน สำนักงาน ที่มีสภาพแสงน้อย ปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึงคือ การเลือกชนิดของพืช ที่ต้องเป็นพืชที่ดูแลง่าย เหมาะกับสภาพที่มีแสงน้อย หรือเติบโตได้ภายใต้แสงจากหลอดไป ซึ่งไม้ประดับที่สามารถดูดสารพิษได้สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่

  1. กลุ่มขจัดฟอร์มัลดีไอด์ หรือ ฟอร์มาลีน สามารถพบได้ในอุตสาหกรรมสี เฟอร์นิเจอร์ การสันดาปของก๊าชโดยเฉพาะจากไอเสียรถยนต์ ได้แก่  ปาล์มไผ่  วาสนา   ลิ้นมังกร  วาสนาอธิฐาน  เดหลี  เศรษฐีเรือนใน  ฟิโลเดรนดรอน      และพลูด่าง  ซึ่งจะสมารถดูดซับฟอร์มัลดีไอด์ ได้ในระดับที่สูง แต่ถ้าพื้นที่ที่มีฟอร์มัลดีไอด์ ในความเข้มข้นต่ำควรจะปลูกว่านหางจระเข้ซึ่งจะสามารถดูดซับได้ดีกว่า

2. กลุ่มขจัดไตรคลอโรเอทธีลีน (TCE)  เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น น้ำยาลบคำผิด น้ำยาทำความสะอาด   ยาฆ่าแมลง รวมถึงใช้ในกิจการซักแห้ง  ควรปลูกพวก เยอบีร่า   เดหลี  วาสนาอธิฐาน วาสนา ปาล์มไผ่  ซึ่งมีประสิทธิภาพในการขจัดสาร ไตรคลอโรเอทธีลีนได้ดีที่สุด

  1. กลุ่มขจัดสารเบนซีน ปกติเราสามารถรับสารเบนซีนผ่านการการหายใจจากการเผาไหม้ของถ่านหิน น้ำมัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ควันจากการเผาไหม้เครื่องยนต์ และควันจากบุหรี่ หรือการบริโภคน้ำที่มีการปนเปื้อนของเบนซีน (ร ไม้ประดับที่สามารถดูดซับพิษได้แก่ เยอบีร่า เบญจมาศ เดหลี วาสนาราชินี ปาล์มไผ่  ตีนตุ๊กแกฝรั่ง  และลิ้นมังกร

จะเห็นว่าพืชเกือบทั้งหมดนั้นสามารถปลูก และดูและง่ายแทบจะไม่ต้องให้ปุ๋ยเลย  ส่วนการเลือกชนิดพืชนั้น อาจจะเลือกชนิดที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่เราต้องการ ความชอบของผู้อยู่อาศัย และแบบของบ้านที่เหมาะกับพืชชนิดนั้น  เช่น

  • ถ้าต้องการปลูกบริเวณกำแพง หรือตัวผนังบ้าน การเลือกใช้ตีนตุ๊กแกปลูกเพื่อให้ต้นเลื้อยติดกำแพงก็เป็นวิธีการหนึ่ง นอกจากนั้นยังพบว่าการปลูกตีนตุ๊กแกกับผนังบ้านยังสามารถทำให้ตัวบ้านเย็นได้ด้วย แต่จะพบปัญหาเรื่องการการผุกกร่อน และเป็นรอยไม่สวยงามของผนัง
  • การปลูกบริเวณหน้าบ้าน หรือปลูกในกระถางตั้งบริเวณตัวบ้าน เพื่อช่วยป้องกันหรือลดมลพิษจากท้องถนน และป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน เช่นปาล์มไผ่ วาสนาอธิฐาน ซึ่งมีทรงต้นสูงระดับสายตา และทำให้ภายในบ้านเย็นนอกจากนั้นยังถือเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูก และดูแลง่ายแทบจะไม่มีแมลงรบกวน
  • ปลูกเป็นไม้กระถางเพื่อวางในอาคาร และในบ้าน อย่างเช่น พืชกลุ่มฟิโลเดรนดรอนที่มีพืชหลายชนิดอยู่ในกลุ่มนี้มีมีทั้งใบแบบธรรมดา ใบของหยัก เช่น ฟิโลใบทอง ฟิโลซานาดู และมูนไลท์ ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งนอกบ้าน และปลูกเป็นไม้ประถาง ส่วนเดหลี ก็สามารถปลูกเป็นไม้กระถ่างเล็กวางในที่ทำงานได้ และพลูด่างที่สามารถเจริญเติบโตได้ง่าย เพียงแค่ปักชำในแจกันทรงหรือแก้วที่ใส่น้ำสะอาด เพียงเท่านี้พลูด่างก็สามารถงอกรากแตกยอดได้

กลไกการดูดซับสารพิษของพืช

  1. การสังเคราะห์แสงของพืชทำให้เกิดออกซิเจนในบรรยากาศเพิ่มขึ้น
  2. การหายใจ พืชจะปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และนำสู่บรรยากาศ
  3. การคายน้ำของพืชทำให้เกิดการไหนเวียนของบรรยากาศ ซึ่งเป็นกระบวนการดูดซับสารพิษของพืช สารพิษจะถูกดูดไปยังบริเวณรากซึ่งจะมีจุลินทรีย์บางกลุ่มที่สามารถย่อยหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้

นอกจากประโยชน์ทางตรงของไม้ประดับเหล่านี้แล้ว การปลูกไม้ประดับตามอาคาร  บ้าน หรือที่ทำงานยังสามารถจะลดความตึงเครียด เพิ่มความรู้สึกเป็นธรรมชาติ เพิ่มบรรยากาศในการทำงาน  ดังเช่นในประเทศญี่ปุ่น บริษัท  Pasona Group จะปลูกพืชผักสวนครัว และข้าว ในตึกซึ่งเป็นประโยชน์ด้านการเพิ่มออกซิเจนแล้วยังนำมาประกอบอาหารเลี้ยงพนักงานได้ด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลดี มีความรู้

กมลพร อยู่สบาย. 2554. สารเคมีจากบ้าน และที่ทำงาน ตอนที่ 3 ยอดไม้ประดับดูดสารพิษ. สำนัดจัดการน้ำ

กรมควบคุมมลพิษ, 2554.

คมสันต์ หุตะแพทย์. 2552.  ไม้ประดับดูดสารพิษ ใน การประชุมปฏิบัติการเรื่อง “ส้วมไทย…หัวใจธรรมชาติ เพื่อลดโลก            ร้อน” . ระหว่างวันที่ 30 เมษายน –1 พฤษภาคม  2552. ณ  โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวชั่น กรุงเทพฯ.

วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์. 2554. Trichloroethylene. มูลนิธิสัมมาอาชีวะ  พ.ศ. 2554.               (http://www.summacheeva.org/index_thaitox_trichloroethylene.htm)

Thai PBS. (29 พฤศจิกายน 2559). รายการดูให้รู้ : โตเกียว…ทำนาในตึก(Video).               (https://www.youtube.com/watch?v=3rCzEGh0Uxk).

รัชนี ม่วงประเสริฐ. “เบนซีน (Benzene) ภัยใกล้ตัวจากรถยนต์”. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปิโตรเคมี และวัสดุ. (http://www.who.int/ipcs/features/benzene.pdf).

ฐปนา วชิรมาศ. 2016. ปลูก “ต้นตีนตุ๊กแก” ให้เกาะผนัง ช่วยให้บ้านเย็นขึ้น… จริงหรือไม่??.               (http://www.baanlaesuan.com/26011/ideas/garden-ideas-1/the-velcro/). 3, May, 2017.

ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.tnews.co.th/contents/192930

ผู้เขียน  :  นางสาวนิภาพร สีทน (วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ (พืชสวน) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)   บัณฑิตทุนรุ่น 11/2555