น้องหนึ่ง เสือมัจฉา

“ ตั้งแต่อนุบาลถึง .3 เสื้อนักเรียนของผมมีแต่ชื่อคนอื่นปักอยู่บนหน้าอก ไม่เคยมีชื่อตัวเองเลย

เพราะต้องใส่เสื้อที่คนอื่นบริจาคให้ ผมต้องเดินเท้าเปล่ามาตั้งแต่อนุบาล เพิ่งมามีรองเท้านักเรียนใส่ตอน .2

แต่ผมไม่สนใจครับ เพราะเป็นแค่ของนอกกาย ขอแค่มีโอกาสเรียนก็ดีใจแล้ว 

เพราะต้นทุนชีวิตที่ไม่ได้มีมากเท่าคนอื่น ทำให้ ‘หนึ่ง เสือมัจฉา’ ต้องพยายามอย่างหนัก ทั้งหางานทำ ขอทุนการศึกษา และไปอาศัยอยู่วัด เพื่อให้ตัวเองได้มีโอกาสเรียนหนังสือ หนึ่งเล่าย้อนกลับไปถึงชีวิตที่ยากลำบากในวัยเด็กของตัวเอง เขากลายเป็นเด็กกำพร้า เพราะสูญเสียคุณพ่อตั้งแต่ 2 ขวบ และคุณแม่ก็มาเสียชีวิตจากไปอีกคนตอนที่เขาอายุเพียง 7 ขวบเท่านั้น

เขาต้องเริ่มทำงานในสวนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ด้วยค่าแรงวันละ 30 บาท และอาศัยกินอยู่กับเถ้าแก่ไปด้วย โชคดีที่เถ้าแก่มีเมตตาต่อเขา จึงช่วยส่งให้เรียนหนังสือจนจบชั้น .6 จากนั้นเขาก็ต้องหยุดเรียนเพราะไม่มีเงิน ก่อนพยายามเก็บเงินจนได้ก้อนหนึ่ง และเริ่มหาทุนการศึกษาเพื่อให้ได้เรียนต่อ

10576745_532233003543241_1666448574_o

12890986_765099396923266_7120789505359694950_o

1956914_465037600262782_147405266_o

“ ไม่ว่าจะเป็นทุนของชุมชน ทุนของวัด ทุนเด็กกำพร้า มีทุนอะไรผมเอาหมด รีบคว้าเลยครับ

เนื่องจากโอกาสมีไม่มาก จนผมได้เรียนต่อ .ต้น สมใจ 

หนึ่งเล่าว่าหลังเรียนจบชั้น .3 ตอนแรกเขาไม่คิดจะเรียนต่อ เพราะไม่มีใครส่งเรียน ลำพังที่ทำงานอยู่กับเถ้าแก่ และได้เงินวันละ 30 บาทก็คงไม่พอ จึงคิดว่าจะทำงานอยู่กับเถ้าแก่ไปเรื่อย  แต่แล้วก็ได้ทราบว่ามีทุนการศึกษาจากมูลนิธิดำรงชัยธรรม ของคุณไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ซึ่งสามารถส่งเรียนจนจบปริญญาตรีได้ จึงตัดสินใจเขียนเรียงความส่งไปเพื่อขอทุน และเขาก็ได้รับทุนมาในที่สุด

“ ถ้าไม่ได้รับทุนจากมูลนิธิดำรงชัยธรรม ก็คงไม่ได้เรียนต่อเลย 100%

คงต้องหยุดเรียนที่ชั้น .3 เพราะต่อให้ได้ทุนอื่น  ก็คงจะไม่ได้รับเงินที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกอย่างแบบนี้

การได้ทุนครั้งนี้เหมือนผมได้ชีวิตใหม่ 

จากนั้นหนึ่งก็เริ่มเรียนต่อชั้น .4 ก่อนจะค้นพบว่าตัวเองชอบการซ่อมรถ และคิดว่าจะเป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ จึงตัดสินใจเปลี่ยนไปเรียนสายวิชาชีพ ด้านช่างยนต์ จนจบชั้น ปวสโดยในระหว่างนั้นก็ไปอาศัยอยู่ที่วัด เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายทั้งค่าหอพักและค่าอาหาร พร้อมกับทำงานพิเศษที่โรงงานประกอบและซ่อมเครื่องยนต์ เพื่อหารายได้เสริมสำหรับเลี้ยงตัวเองไปอีกทาง

แล้วโอกาสครั้งใหญ่ก็เข้ามาในชีวิตของหนึ่ง เมื่อบริษัท ปตทประกาศคัดเลือกนักศึกษาเข้าเป็นพนักงานช่างเทคนิค เขาจึงตัดสินใจสมัครสอบ และกลายเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่สอบติด จนได้ทำงานในบริษัทยักษ์ใหญ่ ตำแหน่งพนักงานควบคุมการผลิต ที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ปตทจังหวัดระยอง มานานเกือบ 6 ปี

“ ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงาน ผมตั้งใจนำความรู้ที่เรียนมาใช้กับการทำงานให้มากที่สุด

จนผมได้รับรางวัลมากมายจากองค์กร เช่น รางวัลผู้ที่มีจิตอาสาดีเด่นปี 2559

และรางวัลผู้ที่รายงานสภาพที่ไม่ปลอดภัยในโรงงานดีเด่นตั้งแต่ปี 2556-2560 ”

12333905_717621048337768_1059937348_o

12291236_717300711703135_1659485081792066188_o

12112879_699111133522093_390924155_o

12028716_694683230631550_1030993683927442085_o

10662016_558834957549712_3083127178803059427_o

12162559_699110376855502_547861425_o

10633717_558837684216106_2229588074007630316_o

10470167_510817549018120_5446834898437453376_o

12308141_717301715036368_2707600680434150983_o

12119486_699110960188777_1468053432_o

หนึ่งบอกอีกว่าเพราะตัวเองเคยได้รับโอกาสได้ทุนการศึกษาจากมูลนิธิดำรงชัยธรรม เขาจึงมีความฝันว่าอยากจะเป็นผู้ให้กับคนอื่นบ้าง โดยในอนาคตเขาอยากเปิดศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน และถ่ายทอดความรู้ความสามารถที่ตัวเองมีให้กับคนอื่น  เพื่อจะนำไปประกอบวิชาชีพได้

#คนเล็กใจใหญ่ #ต้นแบบคนโตดี #มูลนิธิดำรงชัยธรรม